วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การปกครองสมัยสุโขทัยเเละอยุธยา

               การปกครองสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธย
 
การปกครองสมัยสุโขทัย

     อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช
มีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดรัก   ทิศตะวันตกจรดเมืองหงสาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์
  
 อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพศ.1921  และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติดต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981
 
           ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย
   
                  แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น และการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้

      1. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น   เมื่อขอมปกครองสุโขทัยใช้ระบบการปกครองแบบ นายปกครองบ่าว เมื่อสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นใหม่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดการปกครองใหม่เป็นแบบ บิดาปกครองบุตร หรือ พ่อปกครองลูก หรือ ปิตุลาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ

             1. รูปแบบราชาธิปไตย  หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงใช้อำนาจสูงสุดที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย
             2. รูปแบบบิดาปกครองบุตร หมายถึง พระมหากษัตริย์ ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมาก จึงเปรียบเสมือนเป็นหัวหน้าครอบครัว หรือ พ่อ จึงมักมีคำนำหน้าพระนามว่า พ่อขุน
             3. ลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้น ๆ เริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้าน มี พ่อบ้าน เป็นผู้ปกครอง หลายบ้านรวมกันเป็นเมือง มี พ่อเมือง เป็นผู้ปกครอง หลายเมืองรวมกันเป็นประเทศ มี พ่อขุน เป็นผู้ปกครอง
            4. การยึดหลักธรรมในพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง

      2. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย   การปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคง เกิดความรำส่ำระสาย เมืองต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ พระมหาธรรมราชาที่ 1 จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ราษฏรเพือ่ให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา สร้างความสามัคคีในบ้านเมือง ลักษณะการปกครองสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบ ธรรมราชา ดังนั้นจึงนับได้ว่าพระองค์ธรรมราชาพระองค์แรก และพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์
อาณาจักรอยุธยา

อาณาจักรอยุธนาสถาปนาโดยพระรามาธิบดีที่ 1

       เมื่อพ.ศ. 1893 และถูกทำลายลงโดยกองทัพพม่าในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ เมื่อ พ.ศ. 2310 มีกษัตริย์ปกครอง 34 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณบุรี ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีพุทธศาสนาหินยานเป็นศาสนาประจำอาณาจักร และมีความเชื่อด้านวิญญาณนิยมกับพุทธมหายานเจือปนด้วย ในราชสำนักใช้พิธีกรรมที่เป็ฯฮินดู-พราหมณ์ เพื่อสร้างอำนาจและความศักดิ์สิทธิ์ ผสมผสานระหว่าง "ธรรมราชา" กับ "เทวราชา"

       มีเมืองที่สำคัญ 2 เมืองคือ ลพบุรีกับสุพรรณบุรี ลพบุรีเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมลัทธิศาสนาและวิชาการด้านต่างๆ สุพรรณบุรี เป็นศูนย์กลางของกำลังคนมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดี

การเมืองอยุธยา
   
       การเมืองระดับสูง(อยุธยาตอนต้น) เป็นการแย่งชิงอำนาจของ 2 ราชวงศ์ ระหว่างราชวงศ์อู่ทองและราชวงศ์สุพรรณบุรี มีการแข่งส่งทูตไปเมืองจีนเพื่อสร้างฐานะของตนในอยุธยา เพราะการรองรับจากจีนซึ่งเป็นมหาอำนาจในเอเชีย เท่ากับเป็นการเสริมความมั่นคงทางอำนาจทางการเมืองของกษัตริย์อยุธยา
การขยายอำนาจทางการเมืองของอยุธยา ทำให้เกิดการแข่งขันและขัดแย้งกับพม่า โดนเฉพาะการแย่งชิงอำนาจเหนือเชียงใหม่และอาณาจักรมอญ(พม่าตอนล่าง) ทำให้อยุธยาพ่ายแพ้พม่าในพ.ศ. 2112 และถูกพม่าทำลายลงในพ.ศ. 2310(เสียกรุงครั้งที่ 2)
       ระบบการปกครองของอยุธยา เป็นระบบ"ราชาธิปไตย" หมายความว่า...กษัตริย์มีอำนาจสูงสุดแต่ยังไม่มีการแบ่งระบบระหว่างเจ้ากับขุนนางอย่างแท้จริงเหมือนดังที่ปรากฏในสมัยตอนกลางรัตนโกสินทร์ การปกครองใช้ระบบ"ศักดินา" แบ่งชั้นคนในสังคมออกเป็น เจ้า-ขุนนาง-พระสงฆ์-ราษฎร มีการเกณฑ์แรงงาน"ไพร่" และเก็บอากร"ส่วย"เป็นผลิตผลและตัวเงิน
 

แบ่งการปกครองเป็นหน่วยย่อย โดยแบ่งเป็น

    1) บ้าน หรือหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้าน มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นหัวหน้า  จากการเลือกตั้งจากหลายบ้าน
    2) ตำบล เกิดจากหลายๆ หมู่บ้านรวมกันมีกำนันเป็นหัวหน้ามีบรรดาศักดิ์เป็น พัน 
    3) แขวง เกิดจากหลายๆ ตำบลรวมกัน มีหมื่นแขวงเป็นผู้ปกครอง
    4) เมือง เกิดจากหลายๆ แขวงรวมกัน มีผู้รั้งหรือพระยามหานครเป็นผู้ปกครอง

ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการปกครองทางด้านการทหาร ได้แก่

    1. การจัดทำสารบัญชี (หรือสารบาญชี) เพื่อให้ทราบว่ามีกำลังไพร่พลมากน้อยเพียงใด
    

    2. สร้างตำราพิชัยสงคราม ซึ่งเป็นตำราที่ว่าด้วยการจัดทัพ การเดินทัพ การตั้งค่าย การจู่โจมและ  
        ตั้งรับ ส่วนหนึ่งของตำราได้มาจากทหารอาสาชาวโปรตุเกส ร้อมเพรียงเพื่อสำรวจจำนวนไพร่พล (คล้ายกับพิธีถวายสัตย์  ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพลในปัจจุบัน)
 3. การทำพิธีทุกหัวเมือง ซักซ้อมความพร้อมเพรียงเพื่อสำรวจจำนวนไพร่พล (คล้ายกับพิธีถวายสัตย์
        ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพลในปัจจุบัน)